สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับจิตแพทย์
ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องแพร่หลายที่ทุกคนมีโอกาสเผชิญหน้าได้ เนื่องจากสภาวะสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดูจะสลับซับซ้อน ชวนให้รู้สึกกดดันมากกว่าสมัยก่อน จนเป็นบ่อเกิดของความเครียดหรือภาวะที่เกิดจากการวิตกกังวลในปัญหาต่างๆในชีวิต เชื่อว่าหลายๆคนเคยเป็นกันทั้งนั้น บางครั้งการก้าวผ่านช่วงเวลาที่ทรมานก็เป็นเรื่องยากเกินกว่าจะรับมือโดยลำพัง การขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงเป็นทางเลือกที่ดีและเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าอายแบบที่หลายคนเป็นกังวลแต่อย่างใด
จิตแพทย์ คือ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช มีความเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยทางจิตใจ ภาวะที่เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ทำหน้าที่พิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจทางรังสีวิทยา เป็นต้น รวมทั้งทำการรักษา เช่น บำบัดด้วยการพูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม สั่งจ่ายยา ใช้คลื่นไฟฟ้ากระตุ้นสมอง และประเมินว่าผู้ป่วยต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลหรือไม่ เป็นต้น
อาการแบบไหนที่ต้องเข้าพบจิตแพทย์
ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ไม่ได้มีอาการป่วย แต่ต้องการขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ เช่น กลุ่มคนทำงานที่มีความรู้สึกเครียด กังวล หรือไม่สบายใจบางอย่าง แล้วยังไม่สามารถหาคำตอบของความทุกข์ให้กับตัวเองได้ อาจจะลองไปพบกับจิตแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นและหาทางเปลี่ยนแปลงอารมณ์เหล่านั้นให้กลับมาเป็นปกติได้
หรือในกลุ่มคนที่เริ่มมีพฤติกรรมแปลกไป โดยมีการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความจริงจนทำให้ประสิทธิภาพของตัวเองลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ เช่น
- มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นรุนแรงมากๆ เช่น เมื่อก่อนเป็นคนพูดน้อย แต่ตอนนี้กลายเป็นพูดไม่หยุด, จากเคยเป็นคนอารมณ์เย็นกลับกลายเป็นคนอารมณ์ร้อนเกินความพอดี เป็นต้น
- มีอาการยึดติดกับอดีต เช่น ไม่สามารถลืมเหตุการณ์เลวร้ายในอดีตได้ มองเห็นภาพเดิมซ้ำๆ จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น
- มีความผิดปกติกับร่างกายเกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น นอนไม่หลับซ้ำๆ ปวดหัวบ่อยๆ หรือป่วยแบบไม่มีสาเหตุติดต่อกัน เป็นต้น
- ไม่สามารถจัดการกับความสัมพันธ์กับคนรอบตัวได้ ไม่ว่าจะกับครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือผู้คนที่รู้จักทั่วไปก็ตาม
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของอาการป่วยทางใจที่ต้องรีบเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรักษา อย่าปล่อยให้อาการแย่ลงจากความกลัวหรือความอายที่เกิดขึ้นเพราะความเชื่อแบบเดิมๆ ที่ไม่เป็นความจริง
จิตแพทย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
จิตแพทย์ยังสามารถช่วยรับฟังเรื่องต่างหรือปัญหาต่างๆและยังให้คำปรึกษา เยียวยาสภาพของจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความสะเทือนใจจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ภาวะซึมเศร้า โรคกลัว ปัญหาในครอบครัวและปัญหาความสัมพันธ์ รวมทั้งช่วยบำบัดพฤติกรรมการใช้สารเสพติด รักษาโรคการกินผิดปกติ ปัญหาการนอนหลับ รวมไปถึงโรคทางจิตเวชทั้งหลาย เช่น โรคไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคย้ำคิดย้ำทำ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นต้น
ประโยชน์ของการให้คำปรึกษาจากจิตแพทย์
1.ช่วยให้เกิดความเข้าในในตัวเองมากขึ้น
จิตแพทย์จะรับหน้าที่เป็นผู้รับฟังและเป็นกระจกสะท้อนถึงปัญหาที่เจอจากการสอบถามปัญหาในเชิงลึกเท่าที่จำเป็น ทำให้คุณสามารถมองเห็นความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้น
2. ช่วยให้คุณได้ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น
การยอมรับปัญหาของชีวิตของตัวเองถืออุปสรรคขั้นแรกของการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งการเข้าพบจิตแพทย์จะช่วยทำให้คนที่มองไม่เห็นถึงความรู้สึกทุกข์ของตนเองสามารถยอมรับถึงปัญหาที่มี และหาทางรับมือกับมันได้ดีมากยิ่งขึ้น
3. ช่วยทำให้คนรอบข้างเข้าใจในตัวผู้ป่วย
การเข้าพบจิตแพทย์ไม่ได้จำเป็นจะต้องไปคนเดียว การพาคนใกล้ชิดมาร่วมรับฟังด้วยก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจในความรู้สึกทุกข์ใจของผู้ป่วย พร้อมกับเรียนรู้วิธีการบำบัดและรักษาในแบบที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยทำให้อาการบรรเทาลงได้ง่ายกว่าการพยายามรักษาด้วยตัวเองเพียงคนเดียว
4. ช่วยทำให้อาการทุเลาลงได้จากการใช้ยา
หลายคนที่เข้าพบจิตแพทย์อาจจะได้รับการรักษาจากการใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งการใช้ยาควบคู่ไปกับการบำบัดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่เป็นการปรับสมดุลการใช้ชีวิต เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับอาการของโรคทางใจที่มีได้ดีกว่าที่เคย
การรับมือกับความเครียดด้วยตัวเองเบื้องต้น
ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ไม่ว่าจะจากภาระงานที่หนักมากเกินไป, การเรียนที่หนักหน่วง การต้องเผชิญกับภาวะกดดันต่างๆ หลากหลายสาเหตุเหล่านี้ ทำให้ร่างกายมีความเครียดเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เรามีคำแนะนำเบื้องต้นให้คุณได้ผ่อนคลายกับปัญหาต่างๆของคุณ
1.สังเกตตัวคุรเองว่ามีอาการแบบนี้อยู่รึเปล่า เช่น อาการโมโหง่าย โกรธง่าย นอนไม่หลับ มีปัญหาในการนอน หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกอ่อนเพลีย พลังงานต่ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังประสบกับภาวะเครียดอยู่
2.ระบายมันออกมาบ้างไม่ว่าเป็นเรื่องอะไร และขอกำลังใจและการสนับสนุนจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก การได้ระบายความรู้สึกของตัวเอง แทนที่จะเก็บไว้คนเดียว จะทำให้ภาวะตึงเครียดผ่อนคลายลง และรู้สึกดีขึ้น
3.หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ออกไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้าง ออกกำลังกายอย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน จะช่วยปรับอารมณ์และลดระดับความเครียดลงได้
4.หากเกินอาการรุนแรงขึ้นแนะนำให้พบจิตแพทย์
วิธีการดูแลสุขภาพจิตหลังพบจิตแพทย์
1.ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดจะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากความเครียดหรือภาวะวิตกกังวลได้ เช่น การนอนไม่หลับ การรับประทานยาเพื่อให้คุณได้นอนหลับพักผ่อน อย่างเพียงพอ
2.ฝึกสมาธิ ในกรณีที่รู้สึกแย่ในขั้นที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ และเรียกคืนสติให้กับตัวเอง
3.ถ้าความรู้สึกซึมเศร้าถาโถมจนเกินจะรับได้ไหวอีกต่อไป ควรกันตัวเองออกจากปัจจัยที่ทำให้เศร้า เช่น พยายามไม่รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไม่ดูรูปภาพหรือคลิปวิดีโอที่ดูกี่ครั้งก็ร้องไห้ และควรพักใจอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเองสักพัก
4.พูดคุยกับคนรอบข้าง การระบายหรือพูดคุยให้กับคนรอบข้างได้รับฟัง หรือแสดงอารมณ์ให้คนรอบข้าง จะได้ไม่เก็บอารมณ์หรือความรู้สึกของตัวเองไว้กับตัว
5.รับประทานของที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยเข้าไปฟื้นฟูสภาวะร่างกายให้แข็งแรงและบรรเทาอาการจากความเครียดได้อีกด้วย
6.ทำกิจกรรมที่ให้ความผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย ออกไปเที่ยว เดินเขา ไปทะเล จะทำให้ฟื้นฟูจิตใจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้คุณได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
7.ไปตามนัดตามที่แพทย์สั่งทุกครั้งเพื่อดูอาการและความเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับความเครียด
ในปัจจุบัน ความเครียดหรือโรคเครียด สามารถเกิดได้ทุกคนได้ ทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วยความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
ความเครียดเกิดจากภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคลต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป
ชนิดของความเครียด
1.Acute stress คือความเครียดที่เกิดจากการสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิวข้าว อันตราย เป็นต้น และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ
2.Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังคือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวัน เช่น ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น และร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง
อาการของความเครียด
อาการของความเครียดมักเกิดทันทีเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความตึงเครียดเช่น ความเครียดจากการคิดงานไม่ออก เป็นต้น โดยจะเกิดอาการของโรคเป็นเวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาการโรคเครียด มีดังนี้
- เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำ ๆ ผู้ป่วยจะเห็นฝันร้าย หรือนึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
- อารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ป่วยโรคเครียดมักแสดงออกมาในเชิงลบ ผู้ป่วยจะรู้สึกอารมณ์ไม่ดี มีความทุกข์ ไม่ร่าเริงแจ่มใสหรือรู้สึกไม่มีความสุข
- มีพฤติกรรมแยกตัวออกมา ผู้ป่วยจะเกิดหลงลืมมึนงง ไม่มีสติหรือไม่รับรู้การมีอยู่ของตัวเอง หรือรู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง
- หลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ สิ่งของ กิจกรรม หรือบทสนทนาที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
- ไวต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยจะนอนหลับยาก โมโหหรือก้าวร้าว ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
ทั้งนี้ โดยทั่วไป คนเรามักเกิดความเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรู้สึกดังกลาวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและอารมณ์บ้าง ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรม ดังนี้
1.อาการแสดงทางร่างกาย มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง
2.อาการแสดงทางด้านจิตใจ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
3.อาการแสดงทางด้านอารมณ์ โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง
4.อาการแสดงทางพฤติกรรม รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว
วิธีการรักษาโรคเครียด
วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียดอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.ปรึกษาแพทย์ การพูดคุยหาหรือกับจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดอาการรุนแรงและเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้
2.บำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดความวิตกกังวลและอาการไม่ดีขึ้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดว่าความคิดบางอย่างของผู้ป่วยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคเครียดอาจได้รับการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้มองทุกอย่างได้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง
3.ใช้ยารักษา การจ่ายยาเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเครียดนั้น แพทย์อาจจะจ่ายยารักษาโรคเครียดให้แก่ผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ป่วยทั้งหมด โดยผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า โดยยาที่ใช้รักษาโรคเครียด ได้แก่ เบต้า บล็อกเกอร์ ไดอะแซมหรือยานอนหลับ เป็นต้น
นอกจากนี้ แพทย์อาจจ่ายยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ และยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอื่น ๆ หรือรักษาจิตบำบัดด้วยการสะกดจิต ซึ่งพบในการรักษาไม่มากนัก ส่วนผู้ป่วยที่เสี่ยงฆ่าตัวตายหรือมีแนวโน้มทำร้ายผู้อื่น จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเครียด
ผู้ที่เกิดความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำควรดูแลตัวเอง โดยหากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง เพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ ผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้
1. โรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง บางรายอาจจะมีอาการโรคเครียดนานเกิน 1 เดือน โดยอาการเครียดอยุ่ในภาวะที่รุนแรง และทำให้ดำเนินชีวิตตามปกติได้ยาก ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ป่วยเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น เสียคนรักหรือเสียคนในครอบครัวไป เป็นต้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงไม่ทำให้อาการของโรคแย่ลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญร้อยละ 50 รักษาให้หายได้ภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นอาจประสบภาวะดังกล่าวนานหลายปี
2. ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเครียดที่ไม่ได้รับการรักษา และมีอาการของโรคเรื้อรังอาจมีปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกังวลวิตก หรือบุคลิกภาพแปรปรวน
วิธีการจัดการความเครียดง่ายๆด้วยตัวเอง
1.เริ่มต้นจากการสังเกตร่างกายตัวเอง ว่ามีการตอบสนองต่อความเครียดอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นอาการโมโหง่าย โกรธง่าย นอนไม่หลับ มีปัญหาในการนอน หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกอ่อนเพลีย พลังงานต่ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังประสบกับภาวะเครียดอยู่
2.ระบายมันออกมาบ้าง ด้วยการขอกำลังใจและการสนับสนุนจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก การได้ระบายความรู้สึกของตัวเอง แทนที่จะเก็บไว้คนเดียว จะทำให้ภาวะตึงเครียดผ่อนคลายลง และรู้สึกดีขึ้น
3.หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ออกไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้าง ออกกำลังกายอย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน จะช่วยปรับอารมณ์และลดระดับความเครียดลงได้ หรืออาจนั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า – ออก การหายใจเข้าออกลึกๆ จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลงได้อีกด้วย
4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพ การมีสุขภาพกายที่ดีย่อมส่งผลดีต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง โดยเฉพาะในกลุ่มวิตามินรวม ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและคืนความกระชุ่มกระชวย ความมีชีวิตชีวา และความสดใสให้กับร่างกายได้
5.วิธีรักษาหากไม่สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง หรือตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุยบอกเล่าปัญหา ความทุกข์ใจต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเครียด และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา การวางแผนรับมือในการจัดการกับความเครียดต่อไป
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
คงเป็นที่ทราบกันดีว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับ ประชาคมอาเซียน จุดเด่นของกรุงเทพฯ นอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีศาสนสถานที่สวยงาม, อาหารริมทาง หรือ street food, การคมนาคมที่สะดวกสบาย, ห้างสรรพสินค้า, ตลาด รวมถึงยังมีสถานพยาบาลชั้นนำต่าง ๆ ที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ, คลินิก, และโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล JCI (Joint Commission International Accreditation) ทำให้กรุงเทพฯนอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่สุด เป็นจังหวัดที่มีคนเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุด ยังมีแนวโน้มในการขยายตัวกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอีกด้วย ซึ่งโรงพยาบาลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ คือ โรงพยาบาลศิครินทร์ โรงพยาบาลกมล เป็นต้น ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมาทำศัลยกรรมความงามเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
สถานที่ยอดนิยมในกรุงเทพมหานคร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่รู้จักกันในนาม วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พร้อม ๆ กับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ ในเขตพระบรมมหาราชวัง หากใครได้มาเที่ยวกรุงเทพฯ ก็ตามจะต้องแวะไปกราบ พระแก้วมรกต สักครั้งเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา พระปรางค์วัดอรุณฯ นับเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่รู้จักกันทั่วโลก เพราะฉะนั้นถ้ามาถึงกรุงเทพฯ ก็คงต้องแวะมาชมความสวยงามของพระปรางค์วัดอรุณฯ เช่นเดียวกัน
เยาวราช นับเป็นอีกย่านที่น่าเที่ยว เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งชุมชนของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนแล้ว ยังจัดว่าเป็นย่านธุรกิจ และคึกคักตลอดทั้งวัน ในปัจจุบันคนจะนิยมมาเที่ยวเยาวราชกันช่วงกลางคืน เพราะจะมีสตรีทฟู้ดร้านเด็ดมากมายที่น่าไปลิ้มลองชิมดูสักครั้ง
นอกเหนือจากนี้ ยังมีสถานที่อื่น ๆที่เป็นที่นิยมที่ไม่ควรพลาด เช่น สยามสแควร์, ถนนข้าวสาร, ตลาดนัดจตุจักร, เอเชียทีค เป็นต้น
การเดินทางในกรุงเทพมหานคร
การคมนาคมในกรุงเทพฯ ถือว่ามีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ และยังมีระบบขนส่งสาธรารณะที่ได้มาตรฐานและทันสมัย การเดินทางและการท่องเที่ยวจึงทำได้ง่ายแม้ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว เช่น รถแท็กซี่ รถเมล์ รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตุ๊กตุ๊ก รถไฟ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน และ เรือโดยสาร เป็นต้น
ประชากรหรือผู้คนในกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย มีหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งยังมีประชาชนจากต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงาน รวมถึงยังมีชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ทำให้คนกรุงเทพฯอาจมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากกว่าส่วนอื่นในประเทศไทย
สภาพภูมิอากาศในกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพฯ มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยอยู่ภายใต้ อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีอากาศร้อนทั้งปีและยังมีอุณหภูมิที่หลากหลายอีกด้วย มี 3 ฤดูกาลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฤดูร้อนจะเป็นช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน, ฤดูฝน จะอยู่ในช่วงราว ๆ กรกฎาคมจนถึงตุลาคม และช่วงที่มีอากาศเย็นจะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม
อื่นๆ
การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในกรุงเทพฯ กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้น จึงมีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับโลก และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มากมาย ที่จบมาจากต่างประเทศ มีประการณ์ที่ยาวนาน ทำให้มีนักท่องเที่ยวหรือผู้คนในประเทศไทยเองเดินทางเข้ามาทำการรักษา หรือทำศัลยกรรมกับโรงพยาบาลและคลีนิคต่างๆในกรุงเทพฯ เป็นอย่างมากนั่นเอง